วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555


สรุป บทที่3
การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้และผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด นอกจากจะใช้เทคโนโลยีการศึกษาทั้งในเรื่องของกระบวนการและทรัพยากรต่าง ๆ แล้วจำเป็นต้องอาศัยทฤษฏีการสื่อสารในการนำเสนอเนื้อหาจากผู้ส่งไปยังผู้รับ สื่อหรือช่องทางในการถ่ายทอด และวิธีการในการติดต่อเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการจัดการเรียนการสอนอย่างได้ผลดีที่สุดด้วย ทั้งนี้เพราะสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในกระบวนการสื่อสาร คือ การที่จะสื่อความหมายอย่างไรเพื่อให้ผู้รับสารนั้นเข้าใจได้อย่างถูกต้องว่าผู้ส่งหมายความว่าอะไรในข่าวสารนั้นมีนักวิชาการหลายท่านได้นำเสนอทฤษฏีการสื่อสารที่นำมาใช้เป็นหลักในการศึกษาถึงวิธีการส่งผ่านข้อมูลสารสนเทศการใช้สื่อและช่องทางการสื่อสาร ทฤษฏีการสื่อสารเหล่านี้ได้นำมาใช้ในขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาตั้งแต่ทศวรรษ 1980s เป็นต้นมาเพื่อเอื้อประโยชน์สำหรับใช้เป็นแนวทางในสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียน รวมถึงการเลือกใช้สื่อเพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการเรียนรู้ได้อย่างดี  สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยน,แปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สื่อการสอนได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนตลอด และยังได้รับการพัฒนาไปตาการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้ง นักการศึกษาเรียกชื่อการสอนด้วยชื่อต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์การสอน โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อการเรียนการสอน สื่อการศึกษาเป็นต้น ลักษณะการสื่อสารในห้องเรียนส่วนมากแล้วจะเป็นการสื่อสารระยะใกล้แบบการสื่อสารสองทางโดยผู้สอนใช้เนื้อหาการสอนประกอบทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิควิธีการต่างๆ เช่น ใช้ภาพนำเข้าสู่บทเรียน การใช้วีซีดี เป็นต้น ปัจจุบันการเรียนการสอนในห้องเรียนมีเพิ่มขึ้นอีก 2 รูปแบบ นอกเหนือจากการสื่อสารสองทางและการสื่อสารระยะใกล้ที่ใช้กันมาแต่เดิม ได้แก่
- การสื่อสารระยะไกลแบบการสื่อสารทางเดียว
ตัวอย่าง เช่น การรับรายการโทรทัศน์การศึกษาจากโรงเรียนวังไกลกังวลทางโทรทัศน์ช่อง UBC ด้วยจานรับสัญญาณผ่านดาวเทียมแบบรับตรง วิธีการเหล่านี้ล้วนเพิ่มพูลสมรรถนะในการเรียนการสอนและการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งการสื่อความหมายอย่างหนึ่ง เพราะมีผู้ส่งความรู้ คือ ครู มีข่าวสารหรือเนื้อหาคือ ความรู้ มีผู้รับคือ นักเรียน มีกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า "สื่อ" หรือ "สื่อการสอน" ภายใต้สถานการณ์ในห้องเรียน โดยมีจุดมุ่งหมายหลักสูตรเป็นเครื่องนำทาง
จุดมุ่งหมายสำคัญของกระบวนการสื่อความหมายในการเรียนการสอนก็คือการพยายามสร้างความเข้าใจ ทักษะ ตลอดจนความรู้สึกต่างๆ ร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียนดังนั้นหากการสื่อความหมาย หรือการสอนประสบความสำเร็จ เราย่อมสังเกตเห็นพฤติกรรมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามที่ตั้งจุดมุ่งหมายไว้แต่ต้น จากตัวผู้เรียนได้ตามลักษณะการเรียนรู้นั้น ๆ
ปัญหาสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ก็คือ จะทำอย่างไรจึงจะสามารถสร้าง ความเข้าใจร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียนได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ทำอย่างไรนักเรียน จึงจะเกิดการเรียนรู้ตามที่ครูได้ตั้งจุดมุ่งหมายไว้ เรื่องนี้ ครูจำเป็นต้องรู้จักการตระเตรียม และเลือกสรร ในการสร้างกิจกรรมและประสบการณ์ต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางใน การนำนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมาย หรือมีการเลือกสรรประสบการณ์ของนักเรียน เพื่อนำมาเป็นพื้นฐานในการนำนักเรียนไปสู่จุดมุ่งหมายปลายทางร่วมกันในที่สุดอีกสิ่งหนึ่งที่ครูจะต้องรู้จักการเลือกและนำมาใช้ นอกจากการจัดกิจกรรมการเรียน ก็คือ สื่อการเรียนการสอน นั่นเอ
ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มพูนศักยะภายและสมรรถนะการทำงานในทุกวงการเมื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ในในการศึกษาจะเรียกว่าเทคโนโลยีการศึกษาโดยเทคโนโลยีจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการศึกษาทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น
นอกจากนี้ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนด้วยลักษณะต่างๆของการสื่อสารผู้สอนสามารถนำการสื่อสารมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อบรรลุถึงจุดประสงค์การเรียนรู้ได้หลากหลายวิธีการ ทำให้สรุปได้ว่าเทคโนโลยีการศึกษาเป็นการนำเทคโนโลยีและการสื่อสารมาใช่เพื่อเอื้อประโยชน์ในการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิผล หรือในทางกลับกันอาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีและการสื่อสารเป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยการศึกษาเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น


ระยะทางของการสื่อสารในการเรียนการสอน...
ลักษณะการสื่อสารที่มีรูปแบบ วิธีการ ประเภท และระยะทางของการสื่อสารแตกต่างกัน ทำให้การเรียนการสอนและการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบปกติและการศึกษาทางไกลต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ด้วย เพื่อสามารถเลือกใช้สื่อและวิธีการให้เหมาะสมกับรูปแบบการเรียนการสอน
ความสำคัญของทฤษฎีการสื่อสารทฤษฎีการสื่อสารโดยรวมจัดว่าเป็นแก่นหรือองค์ความรู้ในทางนิเทศศาสตร์ที่ใช้เป็นหลักในการศึกษาวิจัย และการปฏิบัติงานทางด้านนิเทศศาสตร์โดยทางตรง หรือโดยทางอ้อม... โดยทางตรง อาทิ การสื่อสารมวลชน การโฆษณา การประชาสัมพันธ์... โดยทางอ้อม อาทิ การสื่อสารภายในบุคคล (จิตวิทยา) การสื่อสารระหว่างบุคคล (จิตวิทยาและสังคมวิทยา) การสื่อสารภายในองค์กร (การบริหารองค์กร) การสื่อสารของประเทศ (รัฐศาสตร์)
ความหมายของการสื่อสาร
การสื่อสารหรือการสื่อความหมาย เป็นการที่ผู้ส่งซึ่งเป็นบุคคล กลุ่มชน หรือสถาบัน ถ่ายทอดเรื่องราว ข่าวสาร ข้อมูล ความรูแนวความคิด
เหตุการณฯลฯ โดยอาศัยสื่อหรือชองทางในการถ่ายทอดไปยังผู้รับซึ่งเป็นบุคคล กลุ่มชนหรือสถาบันเพื่อให้ผู้รับทราบข่าวสาร่วมกัน
การสื่อความหมาย จำแนกเป็น 3 ลักษณะ
1. วิธีการของการสื่อความหมายวจนภาษา หมายถึง การสื่อความหมายโดยใช้ภาษาพูดอวจนภาษา หมายถึง การสื่อความหมายโดยใช้ภาษากาย ภาษาเขียน และภาษามือการเห็นหรือการใช้จักษุสัมผัส หมายถึง การสื่อความหมายโดยใช้ภาษาภาพ
2. รูปแบบการสื่อความหมายการสื่อความหมายทางเดียว เช่น การสอนโดยใช้สื่อทางไกลระบบออนไลน์การสื่อความหมายสองทาง เช่น การคุย MSN การคุยโทรศัพท์ การเรียนการสอนในชั้นเรียน
3. ประเภทของการสื่อความหมายการสื่อความหมายในตนเอง เช่น การเขียน การค้นคว้า การอ่านหนังสือการสื่อความหมายระหว่างบุคคล เช่น การคุยโทรศัพท์ การคุย MSNการสื่อความหมายกับกลุ่มชน เช่น ครูสอนนักเรียน การบรรยายของวิทยากรกับผู้เข้าอบรมการสื่อความหมายกับมวลชน เช่น การแถลงข่าวทางวิทยุ โทรทัศน์การเรียนรู้กับการสื่อความหมายความรู้ความเข้าใจในทฤษฎีและหลักการของการสื่อความหมาย ที่ประกอบด้วยผู้ให้ความรู้(ผู้ส่ง) เนื้อหาวิชา(สาร) ผู้เรียน(ผู้รับ)
ประเภทของสื่อการเรียนการสอน
       1.สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่ สื่อเล็ก ซึ่งทำหน้าที่เก็บความรู้ในลักษณะของภาพเสียง และ อักษรในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้เรียนสามารถใช้เป็นแหล่งหาประสบการณ์ หรือศึกษาได้อย่างแท้จริงและกว้างขวาง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
       1.1วัสดุที่เสนอความรู้ได้จากตัวมันเอง ได้แก่หนังสือเรียนหรือตำราของจริงหุ่นจำลอง รูปภาพ แผนภูมิ แผนที่ ป้ายนิเทศ เป็นต้น
       1.2วัสดุที่ต้องอาศัยสื่อประเภทเครื่องกลไก เป็นตัวนำเสนอความรู้ได้แก่ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นสไลด์ ฟิล์มสตริป เส้นเทปบันทึกเทป รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ รายการที่ใช้เครื่องช่วยสอน เป็นต้น
       2. สื่อประเภทเครื่องมือ หรือโสตทัศนูปกรณ์ ได้แก่ สื่อใหญ่ ที่เป็ฯตัวกลางหรือทางผ่านของความรู้ ที่ถ่ายทอดไปยังครูและนักเรียน สื่อประเภทนี้ตัวมันเองแทบไม่มีประโยชน์ต่อการสื่อความหมายเลยถ้าไม่มีใครรู้ในรูปแบบต่าง ๆ มาป้อนผ่านเครื่องกลไกลเหล่านี้ สื่อประเภทนี้จึงจำเป็นต้องอาศัยสื่อประเภทวัสดุ บางชนิดเป็นแหล่งความรู้ให้มันส่งผ่าน ซึ่งจะทำให้ความรู้ที่ส่งผ่านมีการเคลื่อนไหวไปสู่นักเรียนจำนวนมาก ได้ไกลๆ และรวดเร็ว และบางทีก็ทำหน้าที่เหมือนครูเสียเอง เช่น
เครื่องช่วยสอน ได้แก่เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องบันทึกเสียง
เครื่องรับวิทยุ เครื่องฉายภาพนิ่งทั้งหลาย
       3.สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ตัวกลางในกระบวนการเรียนการสอนไม่จำเป็นต้องใช้แต่วัสดุหรือเครื่องมือเท่านั้น บางครั้งจะต้องใช้เทคนิคและกลวิธีต่าง ๆ ควบคู่กันไป โดยเน้นที่เทคนิคและวิธีการเป็นสำคัญ
 

วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
วัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร
- เพื่อแจ้งให้ทราบ(information)
- เพื่อสอนหรือให้การศึกษา
- เพื่อสร้างความพอใจหรือให้   ความบันเทิง
- เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ  
ความสำคัญของการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
การเรียนการสอนนั้นก็เป็นการสื่อความหมายอย่างหนึ่ง เพราะมีผู้ส่งความรู้ คือ ครู มีข่าวสารหรือเนื้อหาคือ ความรู้ มีผู้รับคือ นักเรียน มีกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า "สื่อ" หรือ "สื่อการสอน" ภายใต้สถานการณ์ในห้องเรียน โดยมีจุดมุ่งหมายหลักสูตรเป็นเครื่องนำทาง
จุดมุ่งหมายสำคัญของกระบวนการสื่อความหมายในการเรียนการสอนก็คือการพยายามสร้างความเข้าใจ ทักษะ ตลอดจนความรู้สึกต่างๆ ร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียนดังนั้นหากการสื่อความหมาย หรือการสอนประสบความสำเร็จ เราย่อมสังเกตเห็นพฤติกรรมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามที่ตั้งจุดมุ่งหมายไว้แต่ต้น จากตัวผู้เรียนได้ตามลักษณะการเรียนรู้นั้น ๆ
ปัญหาสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ก็คือ จะทำอย่างไรจึงจะสามารถสร้าง ความเข้าใจร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียนได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ทำอย่างไรนักเรียน จึงจะเกิดการเรียนรู้ตามที่ครูได้ตั้งจุดมุ่งหมายไว้ เรื่องนี้ ครูจำเป็นต้องรู้จักการตระเตรียม และเลือกสรร ในการสร้างกิจกรรมและประสบการณ์ต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางใน การนำนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมาย หรือมีการเลือกสรรประสบการณ์ของนักเรียน เพื่อนำมาเป็นพื้นฐานในการนำนักเรียนไปสู่จุดมุ่งหมายปลายทางร่วมกันในที่สุดอีกสิ่งหนึ่งที่ครูจะต้องรู้จักการเลือกและนำมาใช้ นอกจากการจัดกิจกรรมการเรียน ก็คือ สื่อการเรียนการสอน นั่นเอง
การเรียนรู้
การเรียนรู้หมายถึง การปรับเปลี่ยนทัศนคติแนวคิดและพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการไดรับประสบการณซึ่งควรเป็นการปรับเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น
การสื่อสารในห้องเรียน
ลักษณะการสื่อสารในห้องเรียนส่วนมากแล้วจะเป็นการสื่อสารระยะใกล้แบบการสื่อสารสองทางโดยผู้สอนใช้เนื้อหาการสอนประกอบทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิควิธีการต่างๆ เช่น ใช้ภาพนำเข้าสู่บทเรียน การใช้วีซีดี เป็นต้น ปัจจุบันการเรียนการสอนในห้องเรียนมีเพิ่มขึ้นอีก 2 รูปแบบ นอกเหนือจากการสื่อสารสองทางและการสื่อสารระยะใกล้ที่ใช้กันมาแต่เดิม ได้แก่
- การสื่อสารระยะไกลแบบการสื่อสารทางเดียว
ตัวอย่าง เช่น การรับรายการโทรทัศน์การศึกษาจากโรงเรียนวังไกลกังวลทางโทรทัศน์ช่อง UBC ด้วยจานรับสัญญาณผ่านดาวเทียมแบบรับตรง วิธีการเหล่านี้ล้วนเพิ่มพูลสมรรถนะในการเรียนการสอนและการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง

- การสื่อสารระยะไกลแบบการสื่อสารสองทาง
เช่นการเรียนในห้องเรียนเสมือนที่ผู้เรียนในห้องเรียนหนึ่งสามารถเรียนร่วมกับผู้เรียนในสถาบันการศึกษาแห่งอื่นที่มีผู้สอนสดและส่งการสอนนั้นมาเพื่อเรียนร่วมกันได้
การสื่อสารในการศึกษาทางไกล การศึกษาทางกลเป็นการเรียนการสอนและผู้เรียนถึงแม้จะไม่อยู่ในที่เดียวกันแต่สามารถสื่อสารกันได้ด้วยระบบโทรคมนาคมซึ่งเป็นการสื่อสารระยะไกล การเรียนการสอนรูปแบบนี้ผู้เรียนจะเรียนอยู่ที่บ้านหรือสถานที่ต่างๆ ตาความสะดวกของแต่ละคน และสามารถเรียนรู้ได้จากสื่อสิ่งพิมพ์ละสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆ เช่น หนังสือ เอกสารประกอบการเรียน เทปเสียง แผ่นวีซีดี รายการวิทยุ โทรทัศน์การสอน เป็นต้น


การสื่อสารโทรคมนาคม
ระบบการสื่อสารโทรคมนาคมมีการทำงานโดยเริ่มขึ้นเมื่อข้อมูลถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า สัญญาณนั้นถูกส่งผ่านสื่อหรือช่องทางไปยังเครื่องรับ และเครื่องรับถอดรหัสหรือแปลงสัญญาณกลับมาเป็นรูปแบบที่ผู้รับข้อมูลนั้นเข้าใจได้

องค์ประกอบของการสื่อสารโทรคมนาคม
การสื่อสารโทรคมนาคมเป็นการสื่อสารระยะไกลที่ต้องอาศัยองค์ประกอบสำคัญ 3 อย่าง ได้แก่ ตัวส่งผ่านหรือพาหะ ช่องทางโทรคมนาคม และอุปกรณ์สื่อสาร
- ตัวส่งผ่านและพาหะ
เพื่อนำข่าวสารไปถึงกันโดยใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงในลักษณะคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็น คลื่นพาห์ช่วยนำสัญญาณไฟฟ้าแพร่กระจายไปไนบรรยากาศไปยังเครื่องรับได้โดยสะดวก
- ช่องทางโทรคมนาคม
ช่องทางโทรคมนาคม หมายถึง ทาง หรือตัวกลางสื่อสัญญาณ ที่ข้อมูลสารสนเทศใช้เดินทางเพื่อการสื่อสารในระบบโทรคมนาคมจากแหล่งส่งไปยังจุดรับ โดยช่องทางนี้จะเป็นตัวกลางสื่อสัญญาณทางกายภาพ หรือตัวกลางสื่อสัญญาณไร้สายก็ได้

การสื่อความหมายกับการเรียนการสอน
การเรียนการสอนนั้นก็เป็นการสื่อความหมายอย่างหนึ่ง เพราะมีผู้ส่งความรู้ คือ ครู มีข่าวสารหรือเนื้อหาคือ ความรู้ มีผู้รับคือ นักเรียน มีกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า "สื่อ" หรือ "สื่อการสอน" ภายใต้สถานการณ์ในห้องเรียน โดยมีจุดมุ่งหมายหลักสูตรเป็นเครื่องนำทาง
จุดมุ่งหมายสำคัญของกระบวนการสื่อความหมายในการเรียนการสอนก็คือการพยายามสร้างความเข้าใจ ทักษะ ตลอดจนความรู้สึกต่างๆ ร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียนดังนั้นหากการสื่อความหมาย หรือการสอนประสบความสำเร็จ เราย่อมสังเกตเห็นพฤติกรรมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามที่ตั้งจุดมุ่งหมายไว้แต่ต้น จากตัวผู้เรียนได้ตามลักษณะการเรียนรู้นั้น ๆ
หลักการสื่อสาร
การสื่อสารจะประสบความสำเร็จตรงตามจุดประสงค์หรือไม่ผู้ส่งสารควรคำนึงถึงหลักการสื่อสาร ดังนี้  (ภาควิชาภาษาไทย สถาบันราชภัฏเทพสตรี ลพบรี, 2542: 13-14)
1. 
ผู้ที่จะสื่อสารให้ได้ผลและเกิดประโยชน์ จะต้องทำความเข้าใจเรื่ององค์ประกอบในการสื่อสาร และปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับระบบการรับรู้ การคิด การเรียนรู้ การจำ ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพ ในการสื่อสาร
2. 
ผู้ที่จะสื่อสารต้องคำนึงถึงบริบทในการสื่อสาร บริบทในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่อยู่แวดล้อมที่มีส่วนในการกำหนดรู้ความหมายหรือความเข้าใจในการสื่อสาร
3. 
คำนึงถึงกรอบแห่งการอ้างอิง (frame of reference) มนุษย์ทุกคนจะมีพื้นความรู้ทักษะ เจตคติ ค่านิยม สังคม ประสบการณ์ ฯลฯ เรียกว่าภูมิหลังแตกต่างกัน ถ้าคู่สื่อสารใดมีกรอบแห่ง  การอ้างอิงคล้ายกัน   ใกล้เคียงกัน จะทำให้การสื่อสารง่ายขึ้น
4. 
การสื่อสารจะมีประสิทธิผล เมื่อผู้ส่งสารส่งสารอย่างมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ผ่านสื่อหรือช่องทาง  ที่เหมาะสม ถึงผู้รับสารที่มีทักษะในการสื่อสารและมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกัน
5. 
ผู้ส่งสารและผู้รับสาร ควรเตรียมตัวและเตรียมการล่วงหน้า เพราะจะทำให้การสื่อสารราบรื่น สะดวก รวดเร็ว เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที หากจะเกิดอุปสรรค์ ที่จุดใดจุดหนึ่ง
6. 
คำนึงถึงการใช้ทักษะ เพราะภาษาเป็นสัญลักษณ์ที่มนุษย์ตกลงใช้ร่วมกันในการ
สื่อความหมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจในการสื่อสาร คู่สื่อสารต้องศึกษาเรื่องการใช้ภาษา และสามารถใช้ภาษาให้เหมาะสมกับกาลเทศะ บุคคล เนื้อหาของสาร และช่องทางหรือสื่อ ที่ใช้ในการสื่อสาร
7. 
คำนึงถึงปฏิกิริยาตอบกลับตลอดเวลา ถือเป็นการประเมินผลการสื่อสาร ที่จะทำให้คู่สื่อสารรับรู้ผลของการสื่อสารว่าประสบผลดีตรงตามวัตถุหรือไม่ ควรปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อบกพร่องใด เพื่อที่จะทำให้การสื่อสารเกิดผลตามที่ต้องการ